การเป็นออแพร์ช่วงแรกๆจะมีอุปสรรคหน่อย เพราะว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเหมือนตอนที่เรา Skype หรือวิดีโอคอลกัน พอมาอยู่ด้วยกันจริงๆมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน แน่นอนว่าต่างคนต่างต้องปรับตัวให้เข้ากัน ยิ่งคนที่ไม่เคยเป็นออแพร์มาก่อน อาจจะยากในช่วงแรกๆค่ะ หรือคนที่เคยเป็นออแพร์มาก่อนก็อาจจะเจอการเปรียบเทียบกับบ้านเก่า หากเจอที่แย่กว่าก็อาจจะต้องทุกข์หนักเลย
ในกรณีของเราเราเคยอยู่มาประมาณ 4 บ้าน ที่อเมริกา 2 บ้าน บ้านแรกเป็นครอบครัวชาวอเมริกันมีลูกแฝด 3 คน อายุ 2 ขวบ ลุกชายอีก 1 คนอายุ 7 ขวบ คือช่วงนั้นเป็นการไปอยู่ต่างประเทศครั้งแรกเลยค่ะ แต่ยอมรับว่าเป็นงานที่หนักที่สุดตั้งแต่ที่เคยทำมา เริ่มงาน 6 โมงเช้า เลิกงานสองทุ่ม คือมันหนักไปและแฝด 3 คือหนักแล้วยังเป็นพี่เลี้ยงคนเดียว แต่มันก็เป็นช่วงปรับตัวของเราจริงๆแต่เราอดทนไม่ได้ค่ะ บ้านแรกเลยจึงขอเปลี่ยนบ้าน Rematch
ได้บ้านใหม่ก็ตัดสินใจย้ายบ้านเลยบ้านใหม่เป็นครอบครัวอยู่เมืองเวียนนา รัฐเวอร์จิเนียใกล้ๆกับวอชิงตันดีซี มีลูก 2 คน ชาย หญิง แม่เป็นเชื้อสายเยอรมัน พ่อเป็นอเมริกันสบายๆ เพราะเด็กทั้งสองคนไปโรงเรียนทั้ง 2 คน เราเป็นคนไปรับไปส่งน้องผู้หญิงเพราะโรงเรียนอยู่ไม่ไกลเลยค่ะ ทำอยู่กับบ้านนี้ประมาณเกือบ 4 เดือนบ้านนี้ก็เกิดลาออกจากงาน ไม่ต้องการออแพร์เหมือนเขามีปัญหาการเงิน เขาตัดสินใจย้ายบ้านไปอยู่นิวเจอร์ซี่ แล้วแบบบอกเราว่าจะย้ายไปอยู่โน่นแต่จะไม่มีห้องส่วนตัวให้เธอนะ เธอต้องนอนรวมกับพวกเรา เราเลยตัดสินใจที่จะไม่ไปต่อกับบ้านหลังนี้แล้วได้บ้านใหม่อีกเป็นเด็กแฝดหญิง 2 คนอายุน่าจะประมาณ 2 ขวบ คราวนี้เป็นเราเองที่ปฏิเสธไม่เอาบ้านหลังนี้ค่ะ แล้วเลยตัดสินใจกลับเมืองไทย เป็นเราเองที่ไม่สู้เพราะหลังจากเจอเด็กแฝดมาคือคิดเลยว่างานต้องหนักมากแน่ๆ แต่ใจเรามันไม่อยากอยู่แล้ว มันไม่สู้แล้วก็ตัดสินใจกลับเมืองไทยเลย

และตัดสินใจไปเดนมาร์กอีกครั้งปี 2016 ได้ครอบครัวชาวเดนิสแท้ และปี 2018 ก็ไปต่ออีกครั้งที่อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์อีก 1 ปีเต็มกับครอบครัวคนโครเอเชียนผสมบริติช เราจึงขอการันตีว่าเรามีประสบการณ์เกี่ยวกับการปรับตัวเข้าหาคนต่างวัฒนธรรมและมีเทคนิคและทิปที่อยากมาแชร์ให้กับที่กำลังประสบปัญหาในการปรับตัวกับการเป็นออแพร์อยู่ในขณะนี้ค่ะ
1.ช่วงปรับตัว 1-3 เดือนแรกช่วงนี้คือเราต้องเริ่มเรียนรู้วัฒนธรรมของบ้านที่เราไปอยู่
ต้องรู้จักสังเกตุลักษณะนิสัยของคนในครอบครัวที่เราไปอยู่ด้วยว่าเขาเป็นคนแบบไหน โฮสต์ชอบอะไร ไม่ชอบอะไรและที่สำคัยเราต้องศึกษาน้องที่เราเลี้ยงให้ดี และพยายามอดทนเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ เปิดใจรับฟังความรู้ใหม่ๆ เพราะอย่าลืมว่าเรามาที่นี่ทำไมต้องการอะไร ในโครงการมันก็บอกอยู่แล้วว่ามาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นเราต้องเรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัวที่เราไปอยู่ให้มากที่สุดค่ะ
2.Open minded ต้องรู้จักเปิดใจ
ข้อนี้สำคัญมาก สิ่งที่เราเคยทำกับบ้านอื่นหรือสิ่งที่เราทำอยู่ประเทศไทย เลี้ยงเด็กแบบประเทศไทย แต่เมื่อไปอยู่บ้านเขา มันไม่ใช่ว่าเราต้องทำแบบนั้น เราต้องทำตามเจ้าของบ้าน ต้องทำตามเขาก่อนดูวิธีทำของบ้านเขาก่อน เพราะวิธีที่เราทำอาจจะไม่ถูกต้องกับสภาพแวดล้อมที่เราเจออยู่ในขณะนั้นค่ะ เราต้องเปิดใจรับฟังที่เขาพูด เราอาจจะได้ความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้น
3.คิดบวก ข้อนี้ก็สำคัญไม่แพ้กับข้อที่ 2
เพราะการที่เราจะเป็นออแพร์ได้ เราต้องคิดบวกเยอะเลย เพราะอีกคำที่คนอื่นคิดกับเราคือ คนใช้ดีๆนี่เอง แต่เราต้องคิดบวกกับอาชีพที่เราทำอยู่ มันจะทำให้เรามีแรงบันดาลใจในการที่จะอยู่ต่อไป เราตกลงทำสัญญามาแล้ว เราต้องเคารพและทำตามสัญญาของเราค่ะ คิดในข้อดีๆต่างๆที่เราได้รับ เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีความคิดลบเข้ามา คิดถึงข้อดีของออแพร์ว่าเพราะโครงการนี้เกิดขึ้นจึงทำให้เรามีโอกาสมาต่างประเทศในเงินจำนวนที่เราสามารถมาได้แบบไม่เดือดร้อนเลยสักนิด ให้คิดบวกเข้าไว้เพื่อการใช้ชีวิตของการเป็นออแพร์ค่ะ

4.ต้องมีความกล้า ข้อนี้เหมือนจะเคยย้ำไปแล้วกับโฮสต์
เราต้องกล้าที่จะพูด เหมือนบางคนตอนคุยกับโฮสต์ไม่กล้าที่จะขอค่าตั๋วเครื่องบินจากโฮสต์ ไม่ได้นะคะถ้าเราอยากได้ค่าตั๋วเครื่องบินเราต้องกล้าพูด กล้าถามไปเลยตรงๆ เพราะฝรั่งเข้าไม่เข้าธรรมเนียมการเกรงใจ การอายของคนไทยหรอกค่ะ จะมามัวเกรงใจอยู่ค่าตั๋วคือต้องจ่ายเองค่ะ การกล้าที่จะคุยว่างานเป็นแบบนี้ อาทิตย์นี้ฉันทำงานเกินชั่วโมง คุณมีการแก้ปัญหายังไงตรงนี้ยังไงให้ฉันได้บ้าง อย่างเช่น จ่ายเงินค่าล่วงเวลาการทำงาน หรือชดเชยเป็นวันหยุดให้ฉันได้ไหม ข้อนี้คือเราต้องกล้าแสดงความคิดเห็นของเรานะคะ ผลของการไม่กล้าจะทำให้ชีวิตการเป็นออแพร์ของเราอยู่แบบทุกข์ใจ ไม่เป็นสุข เพราะเราจะมีความคิดว่าเราถูกเอาเปรียบ หรือว่าเราจะเหนื่อยเกินไป หากกรณีที่เราถูกใช้งานเกินเวลา
5. มีความนอบน้อม รู้จักพูดให้เขาเห็นใจ
หรือสื่อสารในลักษณะที่ไม่ดูก้าวร้าวหรือดูแรงเกินไป ต้องรู้จักใช้ภาษาในการสื่อสารค่ะ คือบางคนไม่รู้ก็ทำให้ผิดใจกับโฮสต์ไปเลยก็มีค่ะ เราก็ต้องไปศึกษาอีกทีว่าหากเราต้องการพูดประโยคนี้ในภาษาอังกฤษให้ดูสุภาพหรือดูซอฟต์ๆลงกว่านี้เราจะพูดว่ายังไง คือเราต้องศึกษาค่ะ
6.มอบของขวัญแทนใจให้โฮสต์ในเทศกาลต่างๆ
คือข้อนี้หลายคนอาจจะเห็นว่าไม่จำเป็น แต่เราคิดว่ามันเป็นการตอบแทนเขา มันคือข้อที่เค้าเห็นว่าเราใส่ใจจำรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของเขาได้ค่ะ อย่างเช่นในวันเกิดโฮสต์แม่ พ่อหรือแม้กระทั้งวันเกิดน้อง เราควรมีของขวัญให้เขาแบบเล็กๆน้อยๆเช่นการ์ดอวยพรวันเกิดพร้อมของขวัญที่เราเห็นสมควรค่ะ
นี่ก็เป็นเทคนิคที่เราเคยใช้ค่ะ เราอยากจะย้ำว่าช่วงแรกของการปรับตัวมันอาจจะยากหน่อย แต่ขอให้เราใช้ความอดทนพอเวลาผ่านไป เราอาจจะลืมช่วงเวลาช่วงแรกไปเลยก็ได้ค่ะ พอเวลาเราจะจบโครงการมันก็แป๊ปๆ มันไม่ใช่งานประจำมันเป็นแค่สัญญาระยะสั้น เราอาจจะใจหายไม่อยากกลับเหมือนเราก็ได้ค่ะ ขอให้ทุกคนโชคดีได้เจอบ้านดีๆประเสริญเลิศเลอกันทุกคนค่ะ น้องๆ

คุณคิดอย่างไร